? ??????????????Louis Vuitton (Brown)? ????? ?? ???Rating: 4.4 (10 Ratings)??4 Grabs Today. 1906 Total Gra
bs. ??????Preview?? | ??Get the Code?? ?? ?????????????????????????????????????Hot Model? ????? ?? ???Rating: 3.9 (222 Ratings)??4 Grabs Today. 5952 Total Grabs. ??????Preview?? | ?? BLOGGER TEMPLATES AND TWITTER BACKGROUNDS ?

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

song


Happy Vampires โหลดเพลงแกรมมี่แบบไม่ยั้ง แค่เดือนละ 20 บาท Click ที่นี่เลย

ใบงานที่ 11


สวัสดีปีใหม่ 2553
ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆ
ขอบคุณสำหรับความรู้ที่อาจารย์มอบให้
ขอบคุณสำหรับความเป็นกันเองในชั้นเรียน
ขอบคุณสำหรับความเสียสละที่มีให้นักศึกษา
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่ดี

ใบงานที่ 10




นายพิชัย จรูญรัตน์
เกิดวันที่ 12 สิงหาคม 2502
ปัจจุบันอาศัยอยู่ 229 หมูที่ 7 ตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
การศึกษา กศ.บ. พลศึกษา จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สงขลา) พ.ศ. 2527
สถานที่ทำงาน โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
งาน รับราชการครู คศ.2
งานที่รับผิดชอบ
1. ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาบุคลิคภาพของนักเรียน
2. หัวหน้าสาย ม.2
3. ครูผู้สอนวิชาพลศึกษา
กีฬาที่ชอบ
1. มวย
2. บาสเกตบอล
3. วอลเลย์บอล
4. เปตอง

ใบงานที่ 9

สังคมไทยอยากเห็นผู้บริหารการศึกษาของเราเป็น “ผู้บริหารมืออาชีพ” มีความรู้และประสบการณ์สมกับเป็นผู้บริหารบุคลากรที่เป็นครูมืออาชีพแล้ว ผู้บริหารยุคใหม่ต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ เป็นผู้นำการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติโดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถใน “การบริหารโดยการใช้โรงเรียนเป็นฐาน” (School-based Management) ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะประสานการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ความสามารถในการระดมและใช้ทรัพยากรเพื่อการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพ เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ ไม่บริหารแบบมั่ว ๆ โดยไม่ใช้ศาสตร์หรือความรู้ที่ร่ำเรียนมา
แม้ว่าการบริหารหน่วยงานทางการศึกษาจะไม่เห็นผลกำไรหรือขาดทุนอย่างชัดเจนอย่างภาคเอกชน แต่เราสามารถประเมินได้ว่า ผู้บริหารคนไหนเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ก็คือ3
1. วัดจากความสำเร็จของการปฏิบัติงาน (Outputs) โดยวัดที่การบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ คือ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และมีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาชาติ ดังนั้น การพิจารณาว่าคนที่เข้ามาเรียนได้เกิดการเรียนรู้หรือไม่ ก็วัดได้โดยใช้มาตรฐานหรือตัวบ่งชี้ แต่ผู้บริหารมืออาชีพมิใช่เพียงทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์เท่านั้น แต่ต้องสามารถบริหารและจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย คือ ให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงที่สุดโดยมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
2. วัดจากความสามารถในกระบวนการบริหาร (Process) ผู้บริหารมืออาชีพต้องใช้กระบวนการ P-D-C-A วางแผนเก่ง วางแผนเป็นนำแผนฯ ที่วางไว้ไปสู่การปฏิบัติจริง ไม่กลัวการประเมินเพื่อพัฒนา และปรับเป้าหมายเพื่อให้วงจรการทำงานในขั้นต่อไปดีขึ้นตลอดเวลา ฉะนั้น ผู้บริหารมืออาชีพต้องใช้วิจัยในกระบวนการบริหาร รวมทั้งต้องมีวิสัยทัศน์มีกลยุทธ์ที่สามารถเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสอยู่เสมอ
นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบการสรรหาและเตรียมความพร้อมทุกด้านให้กับผู้บริหารมืออาชีพก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง มีการพัฒนาระหว่างประจำการ และมีการประเมินผลงานเพื่อปรับปรุงตลอดเวลา
สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ถ้าอ่านพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติอย่างรอบคอบจะพบว่า ผู้บริหารมืออาชีพต้องสามารถปฏิบัติภารให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ ต้องส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้ คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถจัดการศึกษาได้ทั้ง 3 รูปแบบ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร จัดให้ระบบการประกันคุณภาพภายใน บริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร และการจัดการเรียนการสอน
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถในการจัดการใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุดโดยประหยัดสุด ผู้บริหารมืออาชีพจะไม่ท่องคาถาเชย ๆ ที่สะท้อนปัญหาซ้ำซากของการบริหารแบบโบราณที่ว่า “ขาดคน ขาดเงิน” อีกต่อไป ให้เกียรติและยกย่องครู ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) กับการบริหารและจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผู้บริหารมืออาชีพต้องมองเห็นความสำคัญและยกย่องให้เกียรติกรรมการสถานศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองและชุมชน ในฐานะเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่า สามารถสนับสนุนสถานศึกษาได้ทั้งในเรื่องคำแนะนำ ความคิดเห็น ภูมิปัญญาความรู้ อาคารสถานที่ แหล่งเรียนรู้ ฯลฯ

ใบงานที่ 8


1.ความหมายของคำว่าสถิติ (Statistics) หมายถึง
ตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง (facts) ของเรื่องต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วย สถิติจำนวนคนเกิด สถิติจำนวนคนตาย เป็นต้น

2.ค่าเฉลี่ย หรือค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean) คือค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมด ความหมาย
เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ค่ามัธยฐาน (Median) คือค่าของข้อมูลที่จุดกึ่งกลางของการกระจายของข้อมูลโดย 50% ของข้อมูลมี ค่าสูงกว่าค่า มัธยฐาน และ 50% มีค่าต่ำกว่าค่ามัธยฐาน และมักใช้ในกรณีที่ การกระจายของข้อมูลมีลักษณะไม่เท่ากันทั้งสองข้าง (Asymmetry) หรือมีลักษณะเบ้ไปทางซ้ายหรือทางขวาเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ค่าฐานนิยม (Mode) คือค่าของข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในข้อมูลของชุดนั้นๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งค่าหรือไม่มีเลยก็ได้ เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายของข้อมูลว่าจะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเท่าใด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย

3.ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ใช้สัญลักษณ์ “N” แทนจำนวนประชากร
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล ใช้สัญลักษณ์ “n” แทนสมาชิกของกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างต่างกัน เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นเพียงสมาชิกส่วนหนึ่งของประชากรที่ถูกคัดเลือกมาใช้ในการศึกษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น ถ้าครุผู้สอนต้องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.2 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ซึ่งนักเรียนมีจำนวนมาก ครูผู้สอนในฐานะนักวิจัยไม่สามารถศึกษาจากประชากร(นักเรียนชั้น ม.2)ทั้งหมดได้จึ้งคัดเลือกนักเรียนชั้น ม.2 มาบางส่วนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่า
จะเป็น โดยใช้ตารางเลขสุ่ม หรือคำนวนด้วยสูตรอื่นๆ ผลที่ได้จากการศึกษาจะอ้างอิงไปสู่ประชากรทั้งหมดได้
4. มาตรนามบัญญัติ (Nominal Scale)
-เป็นมาตรวัดที่หยาบที่สุด จัดข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ แยกตามประเภทหรือชนิด
-สถิติ : ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม หรือใช้สถิติแบบนอนพาราเมตริก
-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่ไม่มีขนาด ไม่มีความเท่ากันของช่วง และไม่มีศูนย์สมบูรณ์
มาตรเรียงลำดับ (Ordinal Scale)
-เป็นมาตรวัดที่ใช้กับข้อมูลที่สามารถจัดเรียงอันดับความสำคัญหรือสามารถเปรียบเทียบกันได้
-สถิติ : ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัย เปอร์เซนต์ไทล์ และสถิติแบบนอนพาราเมตริก
-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีการจัดลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมากได้ แต่ไม่ได้บอก
ถึงปริมาณแต่ละอันดับว่ามากน้อยเท่าใด ไม่มีความเท่ากันของช่วงคะแนน และไม่มีศูนย์สมบูรณ์
มาตรอันตรภาค (Interval Scale)
-เป็นมาตรวัดที่สามารถบอกได้ทั้งทิศทางและขนาดของ ความแตกต่างของข้อมูล มาตรวัดนี้ไม่มีศูนย์ที่แท้จริง
(absolute zero)
-สถิติ : ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่สามารถบอกระยะห่างของตัวเลข 2 ตัว ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเท่าใด มีเกณฑ์อยู่กับสิ่งที่เรียกว่าศูนย์สมมติ
มาตรอัตราส่วน (Ratio Scale)
-เป็นมาตรวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง ดีกว่ามาตรวัดอันตรภาคตรงที่มาตรการวัดนี้มีศูนย์
ที่แท้จริง
-สถิติ : สถิติที่ใช้กับการวัดในระดับนี้ใช้ได้ทุกวิธีที่มีอยู่
-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีระดับการวัดเหมือนมาตราอันตรภาค และมีศูนย์สมบูรณ์ ข้อมูลที่
เป็นอัตราส่วนสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้ และสามารถใช้ได้กับสถิติทุกประเภท

5. ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่า เป็นลักษณะคุณภาพ คุณสมบัติของบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ หรือหมายถึง สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลา แปรเปลี่ยนได้หลายค่า หรือมากกว่า 1 ลักษณะ เช่นเชื้อชาติ แปรค่าได้เป็น ไทย , จีน , ….

ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) เป็นตัวแปรเหตุที่ทำให้ผลตามมา หรือทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ หรือ แปรสภาพไป ตัวแปรต้นจะมีลักษณะ เป็นตัวแปรเหตุ เป็นตัวแปรที่มาก่อน เป็นตัวแปรที่จัดกระทำในการทดลอง มีลักษณะเป็นตัวทำนาย เป็นตัวกระตุ้น
หรือ มีความคงทน ถาวร

ตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นตัวแปรที่มีผลมาจากตัวแปรต้น ซึ่งตัวแปรตามจะมีลักษณะ เป็นตัวแปรที่เป็นผล
เกิดขึ้นภายหลัง เกิดขึ้นเองไม่สามารถจัดกระทำได้ในการทดลอง เป็นตัวถูกทำนาย เป็นตัวตอบสนอง เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
ตัวอย่าง เช่น การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.2 โดยใช้การสอนตามคู่มือครูกับการสอนโดยการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา
ตัวแปรต้น คือ การสอนตามคู่มือครูกับการสอนโดยการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา
ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ

6.สมมติฐาน คือ การคาดการณ์ผลการวิจัยไว้ล่วงหน้าโดยมีทฤษฎีหรือข้อค้นพบจากผลงานวิจัยที่ผ่านมามารองรับ เป็นคำตอบที่คาดการณ์ไว้ก่อนที่จะดำเนินการวิจัยจริง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สมมติฐานการวิจัย เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นมักจะเขียนในเชิงความเรียงธรรม
- สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำข้อความจากสมมติฐานการวิจัยมาเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ทางสถิติ

7. T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป
T-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป

ใบงานที่ 7

การใส่ ตกแต่งบล๊อก ด้วยปฏิทิน นาฬิกา สไลด์รูปต่างๆ เปลี่ยนสีในรูปแบบ และเพลงนั้น จำเป็นจะต้องใช้โค้ด(ภาษา HTML) ซึ่งเป็นโค้ดที่ต้องเพิ่มใน Gadget ซึ่งเมนูการเพิ่มจะอยู่ที่

แผงควบคุม ---> รูปแบบ ---> เพิ่ม Gadget ---> เพิ่มจาวา/HTML ---> วางโค้ดของปฎิทิน/นาฬิกา/เพลงที่เราได้คัดลอกมาจากโค้ดที่เราค้นหาโดยใช้ Google ---> แล้วสั่งบันทึก ซึ่งจะกลับมาที่หน้ารูปแบบ--->สั่งบันทึกอีกครั้ง--->จะขึ้นข้อความว่าได้"ได้บันทึกการเปลี่ยนแปลงแล้ว ดูบล๊อก" ---> ซึ่งสามารถดูบล๊อกได้ว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่

สำหรับการค้นหาโค้ด โดยใช้ Google นั้น เมื่อเข้าเว็บ Google แล้วใช้คำค้นหา เช่น โค้ดเพลง/โค้ดปฏิทินแต่งบล๊อก/โค้ดนาฬิกา / โค้ดแต่งบล๊อก /หรือระบุเพลงที่ต้องการ เช่น โค้ดเพลงอวยพรวันเกิด/โค้ดเพลงร๊อก/โค้ดเพลง(ชื่อเพลง)

เมื่อได้หน้าเว็บGoogle ที่ขึ้นผลการค้นหาแล้ว เลือกเปิดลิงค์ต่าง ๆ ก็จะได้หน้าเว็บ
บางเว็บอาจต้องดาวน์โหลดโค้ด บางเว็บก็ copy โค้ดได้เลย
เมื่อได้โค้ดแล้ว select code แล้วนำไปวางใน Gadget ที่ได้สั่งเพิ่ม HTML/จาวาสคริปต์

Google
ปัจจุบันการใช้งาน Internet จะปรากฏ Web Site ให้เราสามารถเยี่ยมชมได้มากมายหลายประเภท และได้มีการบรรจุข้อมูลข่าวสารอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเราต้องการค้นหาข้อมูลที่อยู่ในระบบ Internet1 เราอาจใช้อุปกรณ์ Tools ที่เรียกว่า ตัวค้นหา (Search Engire) โดยตัวค้นหา (Search Engire) นี้จะถูกบรรจุอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ เช่น www.google.com ,www.yahoo.com, www.lycos.com ในเอกสารนี้จะแนะนำถึงการใช้งานค้นหา (Search Engire) ของ www.google.com ซึ่งจำเป็นตัวค้นหา (Search Engire) ที่นิยมใช้มากสุดและมีฐานข้อมูล (data base) ของ Web Site ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีรูปแบบที่มีคำอธิบายการใช้งานเป็นภาษาไทยที่ Web Site www.google.co.th
การทำให้ติด Search Engine อย่าง (www.google.co.th) เป็นวิธีการทำ Marketing อย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากไม่ว่าจะเป็น บุคคล องค์กร หรือบริษัทฯ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการนำเสนอที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กร หรือเพื่อการค้าขายสินค้า.
ด้วยพฤติกรรมของผู้ใช้ Internet ในปัจจุบัน www.google.co.th เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมในเรื่องของการ Search หรือการค้นหา Web Site เป็นอย่างยิ่ง และเปอร์เซ็นต์การ Click มากที่สุด แน่นอนต้องเป็นลำดับต้นๆ หรือไม่ก็หน้าแรก เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการ Promote องค์กร หรือค้าขายสินค้า ของท่าน ทางบริษัทฯ จึงขอแนะนำแก่สมาชิกของ biz1center.com ทุกท่าน.

ประโยชน์ที่ได้รับจาก Search Engine
• ความเป็นผู้นำในด้านองค์กร หรือธุรกิจ
• เพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย หรือให้บริการในธุรกิจของท่าน
• เป็น Marketing ที่ได้รับความนิยมสูงสุด และประหยัดที่สุด เมื่อเปรียบเทียบสื่ออื่นๆ
• เป็น Marketing แบบเดียวที่กล้าการันตรี การคืนเงิน ถ้าไม่ติด Search หน้าแรก

เงื่อนไขการให้บริการ
• ต้องเป็นสมาชิกของ www.biz1center.com ตั้งแต่ Package ขึ้นไป
• ระบุชื่อ Website ของท่าน และ Keyword ที่จะใช้ Search มา 5 Keyword
• กรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มด้านล่าง
• เจ้าหน้าที่จะทำการวิเคราะห์รายละเอียด และ Reply Mail ติดต่อท่านเพื่อแจ้งค่าบริการ
• ท่านชำระเงิน และส่ง Slip เงินโอนมาให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายที่ท่านทำการติดต่อ
• ระยะเวลาในการดำเนินงาน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับชำระ
ตัวอย่าง Search Engine ที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น sanook.com, siamguru.com, google.com, yahoo.com, msn.com, altavista.com, search.com เป็นต้น

ใบงานที่ 4

การจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่ บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่างๆ ที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาองค์กร

สืบค้นจาก http://www.industry.go.th/km/Lists/KM/KM.aspx

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
สืบค้นจาก http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html

แหล่งข้อมูล คือ สถานที่ที่สามารถ ค้นคว้า สืบค้น เรียนรู้ ข้อมูลต่างๆแต่ละประเภทตามที่เราต้องการและอยู่ในรูปลักษณะที่ แตกต่างกันออกไป ตามที่แหล่งข้อมูลนั้นๆจะนำเสนออกมายิ่งในปัจจุบันจะมีรูปแบบในการนำเสนอ ที่หลากหลายมาก จนเราตามไม่ทันและมีข้อมูล
มากมายมหาศาล ให้เราได้เรียนรู้ สืบค้น ค้นคว้า มาใช้ในการเรียนและงานต่างๆ มากมาย
ตัวอย่างแหล่งข้อมูล ที่มีในปัจจุบัน
1. สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
2. ซีดี วีซีดี ดีวีดี วีดีโอ ภาพยนต์
3. สถานที่ต่างๆ ห้องสมุด โบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยว
4. เทคโนโลยีต่างๆ ทีวี วิทยุ ระบบอินเทอร์เน็ต ดาวเทียม

สืบค้นจาก http://www.ketkwanchai.info/ebook2/f6.htm

เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม

สืบค้นจาก http://www.trang.psu.ac.th/learning2teach/index.php?option=com_content&task=view&id=60&Itemid=34

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่นำมาสรุปประมวลผล ดำเนินการทางสถิติ เปรียบเทียบหรือดำเนินการโดยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับได้เข้าใจความเป็นไปหรือสถานการณ์ของสิ่งที่มีสารสนเทศนั้นเป็นตัวแทน

สืบค้นจาก http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page13004.asp

ใบงานที่ 2




ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง
สถานที่ตั้ง ถนนทุ่งสง-นครศรีธรรมราช ต.ปากแพรก อ.ทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
แนวคิดด้านอาคารสถานที่
1.จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT เพิ่มขึ้น
2.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอกับผู้รับบริการ
แนวคิดด้านบุคลากร
1.จัดอบรมครูบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้ด้านสื่อ คอมพิวเตอร์
2.พัฒนาบุคลากรดูแล ซ่อมแซม แก้ไขขั้นพื้นฐาน
3.พัฒนาคุณภาพของบุคลากรโดยการเข้ารับการอบรมเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพด้าน ICT
แนวคิดด้านการให้บริการ
1.จัดตารางการใช้ศูนย์การเรียนรู้ ICT
2.จัดทำสถิติการเข้าใช้ศูนย์ฯ ปริมาณ ของผู้เข้ารับการบริการ
3.จัดให้บริการบุคคลภายนอก หรือชุมชนในการอบรมให้ความรู้ด้าน ICT
วิสัยทัศน์
ครู บุคลากร สถานศึกษาและนักเรียนในโรงเรียนมีความรู้ ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการจัดการเรียนรู้ และจัดสรรนวัตกรรมในการศึกษาอย่างมีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของชุมชน
ยุทธศาสตร์
1.การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสถานศึกษา ด้านสื่อ เทคโนโลยี และสารสนเทศ
2.การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้าน ICT พร้อมวัสดุอุปกรณ์
3.การส่งเสริมการแข่งขันด้าน ICT

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปงานที่ 3

สรุปองค์ความรู้ สัปดาห์ที่ 3วันที่ 21 พฤศจิกายน 2552

การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ - ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม - ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรมบทบาทใหม่ของการบริหารทุนมนุษย์ การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) ต่างจากการบริหารทรัพยากรบุคคล ตรงที่เน้นความสำคัญของคุณค่าหรือมูลค่าของคนและสิ่งที่คนในองค์กรผลิตหรือสร้างขึ้นมา แต่ไม่ได้เน้นหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคล ดังนั้น การบริหารทุนมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบของกระบวนวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล (Impact of People Management Practice) และความทุ่มเทพยายามของคนต่อความสำเร็จขององค์กร มืออาชีพหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลหมดความสำคัญ และอาจจะไม่จำเป็นต้องทำไป แต่อย่างไรหน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่ต้องทำอย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และต้องมีการปรับบทบาทการบริหารทรัพยากรบุคคลเสียใหม่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
ข้อมูล DATA - ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประเมินผล - กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานสารสนเทศ (Information ) - ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว - ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมายความรู้ (Knowledge) ผลการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบ สร้างเป็นองค์ความรู้ความเฉลียวฉลาด (Wisdom) การนำเอาความรู้ต่างๆมาบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาต่างๆเชาว์ปัญญา (Intelligent) ผลการปรับแต่งและความจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไวรูปแบบการจัดการความรู้ ความรู้แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ - ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ - ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ
วิธีการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้KM ไม่ทำไม่รู้ เรียนลัดและต่อยอดโมเดลปลาทู
“ โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ ๑ . ส่วน “ หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “ เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “ หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “ คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “ คุณเอื้อ” และ “ คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ ๒ . ส่วน “ ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “ คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “ คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “ คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม ๓ . ส่วน “ หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “ คลังความรู้” หรือ “ ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “ เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “ หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไปKnowledge Vision Knowledge Assets Knowledge Sharing KVKSKA ส่วนหัว ส่วนตามองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า “ ทำ KM ไปเพื่ออะไร”
กระบวนการจัดการความรู้1. กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้2. แสวงหาความรู้3. จัดเก็บ และศึกษาหาความรู้4. การสร้างความรู้5. การประมวลและกลั่นกรองความรู้6. การถ่ายโอนและกลั่นกรองความรู้7. การแบ่งความรู้การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้1. การจับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ2. การวิเคราะห์ความรู้ที่จับได้3. การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้4. การสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการใช้งานCoP(Community of Practice)ชุมชนนักปฏิบัติ คือ อะไร คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้- ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน- มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน- มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น- วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน- มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน- มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี-มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย- มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง- มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคมทำให้เพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ในระดับที่ง่ายที่สุด ชุมชนนักปฏิบัติ คือ คนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่ง มีเป้าหมายร่วมกัน และต้องการที่จะแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน กลุ่มดังกล่าวมักจะไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยองค์การ เป็นกลุ่มที่เกิดจากความต้องการทางสังคม และความพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนภูมิโครงสร้างองค์กร และอาจจะมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกับผู้นำองค์กร ในหนึ่งองค์กรอาจจะมีชุมชนนักปฏิบัติจำนวนมาก และคนคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกในหลายชุมชน ชุมชนนักปฏิบัติมีความสำคัญอย่างไร เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เกิดจากความใกล้ชิด ความพอใจ และพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะที่ไม่เป็นทางการจะเอื้อต่อการเรียนรู้ และการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ คำว่า ปฏิบัติ หรือ practice ใน CoP ชี้จุดเน้นที่ การเรียนรู้ซึ่งได้รับจากการทำงาน เป็นหลัก เป็นแง่มุมเชิงปฏิบัติ ปัญหาประจำวัน เครื่องมือใหม่ๆ พัฒนาการในเรื่องงาน วิธีการทำงานที่ได้ผล และไม่ได้ผล การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้ และความเข้าใจได้มากกว่าการเรียนรู้ จากหนังสือ หรือการฝึกอบรมตามปกติ เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งมีสมาชิกจากต่างหน่วยงาน ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดีกว่า การสื่อสารตามโครงสร้างที่เป็นทางการ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนนักปฏิบัติอุปสรรคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - ไม่พูด ไม่คุย - ไม่เปิด ไม่รับ - ไม่ปรับ ไม่เรียน - ไม่เพียร ไม่ทำคลังความรู้ (Knowledge Assets) ประกอบด้วย 3 ส่วน 1.เรื่องเล่าหรือคำพูดที่เร้าใจ + 2. การถอดบทเรียนที่ได้ + 3. แหล่งข้อมูลบุคคลอ้างอิง (Tacit Knowledge) (Explicit Knowledge) (References)ข้อควรระวังในการทำ KS - ให้ share "เรื่องเล่า" ไม่ใช่ share "ความคิด" - เป็น Storytelling ไม่ใช่ Problem-solving ไม่ใช่ Planning - share แล้วต้อง Learn และ Learn แล้วต้อง Lead (นำ) ...นำสู่การกระทำ ...นำสู่ภาพที่ต้องการ"ทุกความสำเร็จในองค์กร ย่อมมาจากกลยุทธ์การวางแผน การปฏิบัติ และการจัดการอย่างมืออาชีพ"
การจัดการความรู้บทบาทใหม่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์1. ผู้ดูแลทุนมนุษย์ ( Human Capital Steward )2. ผู้ประสานสัมพันธ์ ( Knowledge Facilitator )3. ผู้อำนวยความรู้ ( Relationship Bulder )4. ผู้มีอาชีพที่เฉพาะ ( Raped Deployment Sepecidist )ความรู้คืออะไร1. Knowledge Capital เป็นต้นทุน องค์กร ทรัพยากรมนุษย์2. ความสามารถในการทำให้สารสนเทศ และข้อมูลมาเป็นการกระทำที่มีประสิทธิภาพได้3. ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ และความเชี่ยวชาญข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ความเฉลียวฉลาด และเชาว์ปัญญาข้อมูล ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานสารสนเทศ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมายความรู้ ผลจากการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบความคิด เกิดเป็นความรู้ และความเชี่ยวชาญความเฉลียวฉลาด การนำเอาความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อทำงานในสาขาต่างๆเชาว์ปัญญา ผลจากการปรับแต่งและจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไวรูปแบบของความรู้ประเภทของความรู้กับการจัดการรู้ความรู้อาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา การจัดการจะเน้นการเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบและตีความได้ เมื่อนำไปใช้จะเกิดความรู้ใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นใช้อ้างอิงต่อไปความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสม มายาวนาน เป็นภูมิปัญญา การจัดการความรู้แบบนี้ จะเน้นที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่ความรู้ใหม่ที่จะนำไปใช้งานต่อไปซึ่งในสภาพความเป็นจริง ความรู้ทั้ง 2 ประเภทเหล่านี้ มีการสับเปลี่ยนสภาพกันตลอดเวลา การจัดการความรู้ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพความรู้เช่นโมเดลปลาทู การจัดการความรู้ในรูปแบบของ “โมเดลปลาทู” ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัวปลา หรือส่วนของเป้าหมายของการจัดการความรู้ (Knowledge Management Vision), ส่วนของตัวปลา หรือส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) และส่วนของหางปลา หรือตัวคลังความรู้ (Knowledge Assets)กระบวนการจัดการความรู้1. กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้2. แสวงหาความรู้3. จัดเก็บ และศึกษาหาความรู้4. การสร้างความรู้5. การประมวลและกลั่นกรองความรู้6. การถ่ายโอนและกลั่นกรองความรู้7. การแบ่งความรู้การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้1. การจับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ2. การวิเคราะห์ความรู้ที่จับได้3. การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้4. การสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการใช้งานสร้างระบบสารสนเทศจัดการเรียนรู้การจัดเก็บความรู้เป็นระบบการค้นหาและเรียกใช้ความรู้การให้ความรู้ร่วมกันและการกระจายความรู้ความรู้ที่ฝังอยู่ในคนCOP ย่อมาจาก Community of Practice หมายถึง ชุมชนนักปฏิบัติ หรือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่รวบรวมกลุ่มคนที่มีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ร่วมกัน เพื่อได้มาซึ่ง Knowledge Assets : KA หรือ ขุมความรู้ ในเรื่องนั้น ๆ สำหรับคนในชุมชนเพื่อไปทดลองใช้ แล้วนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก อันส่งผลให้ความรู้นั้น ๆ ถูกยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการปฏิบัติ ประยุกต์ และปรับใช้ตามแต่สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่หลากหลาย อันทำให้งานบรรลุผลดีขึ้นเรื่อย ๆCOP เป็น 1 ใน เครื่องมือของการจัดการความรู้ (KM Tools) ประเภท Non-Technical Tools สำหรับการดึงความรู้ประเภท Tacit Knowledge หรือ ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล ซึ่งซ่อนเร้นอยู่ภายในลักษณะที่สำคัญของ COP• กลุ่มคนที่รวมตัวกันโดยมีความสนใจและความปรารถนา (Passion) ร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (มี Knowledge Domain)• ปฏิสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม เป็นชุมชน (community) ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน• แลกเปลี่ยนและพัฒนาความรู้ร่วมกัน ต้อง Practice และสร้างฐานข้อมูล ความรู้ หรือแนวปฏิบัติประโยชน์ของ COPระยะสั้น• เวทีของการแก้ปัญหา ระดมสมอง• ได้แนวคิดที่หลากหลายจากกลุ่ม• ได้ข้อมูลมากขึ้นในการตัดสินใจ• หาทางออก/คำตอบที่รวดเร็ว• ลดระยะเวลา และการลงทุน• เกิดความร่วมมือ และการประสานงานระหว่างหน่วยงาน• ช่องทางในการเข้าหาผู้เชียวชาญ• ความมั่นใจในการเข้าถึงและแก้ปัญหา• ความผูกพันในกรเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม• ความสนุกที่ได้อยู่กับเพื่อนร่วมงาน• ได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่มีหลายสิ่งหลายอย่างคล้ายกัน รวมทั้งอาจกำลังเผชิญปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เมื่อได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จะทำให้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาระยะยาว• เสริมสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขององค์กร• เกิดความสามารถที่ไม่คาดการณ์ไว้• วิเคราะห์ความแตกต่างและตั้งเป้าหมายการปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ• แหล่งรวบรวมและเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ• เกิดโอกาสพัฒนาองค์กรอย่างก้าวกระโดด• เครือข่ายของกลุ่มวิชาชีพ• ชื่อเสียในวิชาชีพเพิ่มขึ้น• ได้รับผลตอบแทนจากการจ้างงานสูงขึ้น• รักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรได้• เพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในองค์กร• ขับเคลื่อนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ลักษณะการทำ COP- แบบกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่- แบบเป็นทางการ (Public) - เปิดเผย และไม่เป็นทางการ (Private) - ส่วนตัว- แบบบนลงล่าง (Top Down) และรากหญ้า (Grass Root)- แบบแยกฝ่าย และคละฝ่าย- แบบคนในองค์กร-คนในองค์กร และคนในองค์กร-คนนอกองค์กร- แบบระหว่างคน-คน และระหว่างคน-สื่อ-คนKs ที่ดีต้องมีทั้ง Explicit และ TacitExplicit ต้องมีวิชาการ ทฤษฎี มาจากการสังเคราะห์วิจัยใช้สมอง เป็นกฎเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนที่ผ่านการพิสูจน์Tacit ภูมิปัญญา เคล็ดวิชา ปฏิบัติ ประสบการณ์ มากจากวิจารณญาณ เป็นเทคนิค เฉพาะตัว เป็นลูกเล่นของแต่ละคน คลังความรู้ที่ดี

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ส่วนตัวฉัน

วิชาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ